ัดพนัญเชิงวรวิหาร
Wat Phananchoeng

 

 

วัดพนัญเชิงวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ตำบลคลองสวนพลู เป็นวัดที่มีมาแต่โบราณ ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่จากหนังสือพงศาวดารเหนือ กล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้ง ขอพระธิดากรุงจีน มาอภิเษกด้วย ขณะที่พระนางสร้อยดอกหมาก เดินทางมาถึงบริเวณหน้าวัด พระเจ้าสายน้ำผึ้งมาปลูกพลับพลารออยู่ ได้ส่งทหารไปเชิญพระนางขึ้นมาที่พลับพลา พระนางสร้อยดอกหมาก น้อยใจที่พระเจ้าสายน้ำผึ้งไม่มารับด้วยพระองค์เอง จึงกลั้นใจตาย พระเจ้าสายน้ำผึ้ง เสียพระทัยมาก จึงสร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึก แด่พระนางสร้อยดอกหมาก และพระราชทานนามว่า "วัดเจ้าพระนางเชิง" ในพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐกล่าวว่า แรกสถาปนาวัด ได้มีการสร้างพระพุทธรูป เมื่อปี พ.ศ. 1867 คือก่อนพระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยา 26 ปี เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 14 เมตรเศษ สูง 19 เมตร พระพุทะรูปองค์นี้ ชาวจีนนับถือมาก เรียกว่า "ซำปอกง" แปลว่า รัตนตรัย คนไทยทั่วไป เรียก "หลวงพ่อโต" หรือ "หลวงพ่อพนัญเชิง" เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ลงรักปิดทองในสมัยอู่ทอง


องค์หลวงพ่อได้รับการบูรณะซ่อมแซมตลอดมา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และรัชกาลที่ 4 ทำการซ่อมแซมใหม่ทั้งองค์ แล้วถวายพระนามว่า "พระพุทธไตรรัตนายก"


สมัยรัชกาลที่ 7 ได้เปลี่ยนพระอุณาโลมเดิมมาเป็น ทองคำหนัก 47 บาท ในปี พ.ศ. 2472


ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า "เมื่อกรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่า ครั้งที่ 2 พระพุทธรูปองค์นี้ มีน้ำพระเนตรไหลออกมาทั้งสองข้าง" มีผู้นับถือกันมากจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ที่เจ็บป่วย จะถวายให้เป็นลูกของหลวงพ่อแล้วจะหายป่วยไข้ หรือไม่ก็จุดธูปเทียนอธิฐาน ขอให้หลวงพ่อคุ่มครองรักษา บารมีของหลวงพ่อจะแผ่มาปกป้องคุ้มครองรักษาให้


นอกจากนี้บริเวณด้านข้างวิหารหลวงพ่อโต ติดริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก เป็นที่ตั้งศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมากเป็นอาคารแบบเก๋งจีน มีพระรูปเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ประดิษฐานอยู่บนชั้นสองของศาล ให้ทุกคนแวะเวียนไปไหว้กันด้วย


บริเวณด้านหน้าพระวิหาร หลวงพ่อโต มีพระอุโบสถ ที่ภายในมีสิ่งที่มีคุณค่ายิ่ง คือ พระพุทธรูป ประดิษฐานเรียงรายอยู่ 5 องค์ องค์กลางเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ส่วนพระพุทธรูปองค์ที่อยู่ด้านซ้าย และองค์ที่อยู่ด้านขวาของพระประธาน คือ พระพุทธรูปทองคำ และนาค สมัยสุโขทัย


ปัจจุบัน ที่วัดนี้กลางเดือนสิบ จะมีงานทิ้งกระจาด และ งานนมัสการประจำปี

 

ประวัติหลวงพ่อโต

 

พระพุทธไตรรัตนนายก ที่ชาวไทยรู้จักท่านในนาม “หลวงพ่อโต” หรือ “หลวงพ่อซำปอกง” ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชนชาวไทยและชาวจีนทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็น “เจ้าผู้คุ้มครองทางทะเล”

หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง เป็นพระพุทธรูปเนื้อปูนปั้นพุทธลักษณะ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 7 วา 10 นิ้ว สูงตลอดรัศมี 9 วา 2 ศอก สร้างขึ้น เมื่อปีชวด พ.ศ.1867 ก่อน พระเจ้าอู่ทอง สร้างกรุงศรีอยุธยา 26 ปี ความศักดิ์สิทธิ์ของ หลวงพ่อโต เลื่องชื่อลือชามาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี กล่าวคือ เมื่อใกล้จะเสียกรุง หลวงพ่อโต มีน้ำพระเนตรไหลมาทั้ง 2 ข้าง เป็นลางบอกเหตุการณ์ล่วงหน้า ทั้งยังแสดงอิทธิปฏิหาริย์รอดพ้นจากการเผาผลาญทำลายของข้าศึกอย่างน่าอัศจรรย์ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 บริเวณวัดพนัญเชิงถูกเครื่องบินทิ้งระเบิดถึง 20 ลูก แต่ไม่มีลูกใดเกิดระเบิดเลย ทั้งที่บริเวณห่างออกไปเกิดระเบิดเสียงดังตูมตาม

เมื่อเกิดโรคระบาดต่างๆ เช่น อหิวาตกโรค และไข้ทรพิษ หรือลูกเด็กเล็กแดงมีอาการ เจ็บไข้ได้ป่วยชาวบ้านจะมาขอน้ำพระพุทธมนต์ ขี้ธูป และดอกไม้บูชาองค์หลวงพ่อโต ไปดื่มกินจนหายจากโรคภัย ไข้เจ็บต่างๆทันตาเห็นพระบารมีหลวงพ่อโต ยังสามารถช่วยขจัดทุกข์ภัยตลอดทั้งดลบันดาลให้โชคลาภ กิจการเจริญรุ่งเรือง สมหวังเรื่องขอบุตร-ธิดา ดังปรารถนาทุกประการหลวงพ่อโต เป็นที่เคารพนับถือของชนชาวจีน ที่มาตั้งภูมิลำเนานานแล้ว ตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า สมัยนั้นเดินทางกันโดยทางเรือ บริเวณลำน้ำที่หน้าวัดพนัญเชิง เป็นวังวนน้ำเชี่ยว
จัด เรือ แพที่สัญจรไปมามักล่มจมอยู่เสมอ พ่อค้าวานิชชาวจีนที่เดินทางมาค้าขายทางเรือ เมื่อได้กราบไหว้องค์หลวง พ่อโต ดลบันดาลให้แคล้วคลาดปลอดภัยในการเดินทาง จึงมีความเคารพนับถือ หลวงพ่อโต อย่างยิ่ง พากันขานพระนามว่า “ซำปอฮุดกง” หรือ “หลวงพ่อซำปอกง” เจ้าผู้คุ้มครองทางทะเล อภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ แห่งองค์หลวงพ่อโตเป็นที่สักการะของ พระมหากษัตริย์ ประชาชนชาวไทยและชาวจีน ตั้งแต่สมัยอยุธยามาตราบเท่าทุกวันนี้
 

 


อ้างอิง :

1. Amazing Ayutthaya

2. วัดพนัญเชิง

 

 

 

 

  Wat Phananchoeng is in the southern part of the city near the river. It was built in 1324 A.D., 26 year before king U-thong founded Ayutthaya, although it is not known by whom this temple was built. Phra Chao Phananchoeng, a large sitting Buddha constructed of brick and mortar, has been well known of a long time. King Naresuen the Great repaired it once, and the other Kings of Ayudhya must keep it in good repair too, though no mention is made of that in the chronicle, from which it is learnt only that when Ayudhya was taken by the Burmese tears flowed from the eyes of this image.


Later on the first king of the Chakri Dynasty and some of his successors repaired the image and towards the end of 1854 A.D., King Mongkut completely renovated the image and renamed it Phra Bhudh-trai-ratana nayok. On the 21st December 1901, during the reignof King Chulalongkorn, the outer garment of Phra Chao Phanan-cheng caught fire and the image was damaged in many places. King Chulalongkorn commanded the image to be repaired, and the work was finished in 1902 A.D.


On the 15th March 1928 the cheeks and the lower jaws of the image broke into pieces. The Royal Institute had it repaired in 1929. At that time Phra Dhamatri-lok the abbot of this monastery, on collecting the bits of gold leaves left by the devotees inside the Vihara gathered 165 grammes of that metal, 690 grammes of gold were contributed by others. With these 855 grammes of gold the head of the monastery made an "Una-lom" (ornament for the forehead substituted it for the older one which was of copper plated with gold).


Phra Chao Phananchoeng is held in respect by the Thai people who, when they visit ayutthaya, offer worship to this image and obtain prediction of their luck from its Vihara. Tourists who do not visit this temple miss the opportunity of seeing one of the very large, old and beautiful images. No Photographs of this image too are to be found in any book or even in the National Museum, where there is a collection of photographs of all other important images of the Buddha, because there is not enough room within the Vihara to set the camera at the proper distance to get a complete picture of this large image.


Phra Chao Phananchoeng is an image in the posture of subduing Mara. It measures 14 meters and 25 centimeters from knee to knee and 19 meters high (including the ornament above the head).

 


Ref.: AYUTTHAYA

 

Wallpaper
 

 

 

Gallery
 

  

 

 

 
 
   

Copyright © 2004 SSSNS Universe

Hit Counter